วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศการผลิต (Manufacturing Information Systems)

ระบบสารสนเทศการผลิต (Manufacturing Information Systems)
ระบบสารสนเทศการผลิตช่วยสนับสนุนงานในด้านการผลิตและการดำเนินงาน รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนและการควบคุมขั้นตอนของการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้นหน้าที่ในการผลิตและการดำเนินงานจึงเกี่ยวข้องกับการจัดการของระบบและกระบวนการผลิต ระบบสารสนเทศใช้เพื่อการจัดการด้านการดำเนินงานและการติดต่อดำเนินงานเพื่อสนับสนุนหน่วยงาน ซึ่งจะต้องมีการวางแผน และควบคุมสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ และการไหลเวียนของสินค้าและบริการ
คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ (Computer-integrated Manufacturing : CIM)
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตที่มีความหลากหลาย ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตแบบบูรณาการ เพื่อสนับสนุน ดังรูปที่ 10.12 ซึ่งเป็นแนวคิดในภาพรวมที่เน้นในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ในการผลิต จะต้องมีเป้าหมายดังนี้
• ความง่าย ( Simplify) ในการรื้อปรับระบบ (Reengineering) ทำให้กระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และโครงสร้างของโรงงานเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบอัตโนมัติและบูรณาการ ให้มีใช้งานได้ง่ายขึ้น
• อัตโนมัติ (Automate) ทำให้เป็นอัตโนมัติด้วยการสนับสนุนด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร และหุ่นยนต์ ช่วยในงานด้านกระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และงานด้านธุรกิจ
บูรณาการ (Integrated) การใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ช่วยในงานด้านการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิต


คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ (Computer-Integrated Manufacturing )

รูปที่ 10. 12 ระบบสารสนเทศการผลิตที่สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ

เป้าหมายโดยรวมของ CIM และระบบสารสนเทศโรงงาน คือ การสร้างกระบวนการทำงานของโรงงานให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว โดยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้น ระบบ CIM จึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่น การผลิตที่มีความคล่องตัว และการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management)
ระบบสารสนเทศช่วยให้บริษัททำงานได้ง่าย เป็นอัตโนมัติ และผสมผสานงานที่ต้องการในการผลิตผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์ถูกใช้เพื่อช่วยให้วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นโดยใช้ทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (Computer-aided Engineering : CAE) และคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบ (Computer-aided Design : CAD) พวกเขายังใช้ช่วยในการวางแผนประเภทของวัตถุดิบที่ต้องการในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า การวางแผนความต้องการด้านวัตถุดิบ (Material Requirements Planning - MRP) และการผสมผสาน MRP เข้ากับตารางการผลิต (Production Scheduling) และการจัดการด้านคนงาน (Shop Floor Operations) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การวางแผนทรัพยากรด้านการผลิต (Manufacturing Resource Planning)
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านการผลิต (Computer-aided Manufacturing-CAM) เป็นระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในขั้นตอนการผลิต ระบบนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการตรวจตราและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ช่วยบริหารงานด้านการผลิต (Manufacturing Execution Systems - MES) หรือการควบคุมทางกายภาพโดยตรง ( การควบคุมการดำเนินงาน) เครื่องจักร ( ควบคุมเครื่องจักร) เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนคน ( หุ่นยนต์)
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยบริหารงานด้านการผลิต ทำหน้าที่ในการดูแลระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารงานในการผลิต ระบบนี้ทำการตรวจตรา ติดตาม และควบคุม 5 องค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการผลิตอันได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องมือ บุคลากร การดำเนินงานตามขั้นตอนที่วางไว้ และ การกำหนดคุณลักษณะให้ตรงกับที่ต้องการ รวมทั้ง อำนวยความสะดวกในการผลิต MES ยังรวมไปถึงตารางการทำงานของคนงานและการควบคุม การควบคุมเครื่องจักร การควบคุมหุ่นยนต์ และ ระบบการควบคุมกระบวนการทำงาน ระบบการผลิตแบบนี้จะทำการตรวจตรา รายงาน และจัดระเบียบให้กับสถานภาพและการดำเนินงานขององค์ประกอบต่างๆในการผลิต เพื่อช่วยให้บริษัทได้รับกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูง
ผลตอบแทนที่ได้รับจากระบบคอมพิวเตอร์ในการผลิตแบบบูรณาการ (Computer-integrated Manufacturing System) สามารถให้ผลตอบแทนในการผลิตของบริษัทดังนี้ ข้อแรก ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการผลิตซึ่งทำให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงตรงกับความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ CIM ยังได้รับผลที่ดีจากระบบการทำงานที่ความสะดวกและเป็นระบบอัตโนมัติ การวางแผนตารางการผลิตที่ดีกว่า และ เกิดความสมดุลของปริมาณการผลิตกับประสิทธิภาพในการผลิต สิ่งเหล่านี้ได้ปรับปรุงการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากกว่าเดิม และการควบคุมคุณภาพที่ดีกว่ามาจากการตรวจตรา ผลสะท้อนกลับ และการควบคุมการดำเนินการของโรงงาน เครื่องจักร และหุ่นยนต์ให้เป็นเป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ผลลัพธ์อีกประการของ CIM คือ การลดต้นทุนในการผลิตสินค้าคงคลังและความคล่องตัวผ่านการทำงานที่ง่ายขึ้น นโยบายสินค้าคงคลังแบบทันเวลา (Just-in-time) และการวางแผนที่ดีกว่าและการควบคุมการผลิต และทำให้สินค้าเสร็จตามต้องการ ท้ายสุด ความพอใจของลูกค้าได้ถูกปรับปรุงด้วยการผลิตอย่างรวดเร็วตามที่ลูกค้าสั่ง ลดสถานการณ์สินค้าขาดได้อย่างเห็นผล และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงตรงความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
เครือข่ายความร่วมมือในการผลิต (Collaborative Manufacturing Network)
กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อมโยงกับสถานีงาน (Workstation) ของวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ กับเพื่อนร่วมงานในสาขาอื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือในการผลิตนี้อาจเชื่อมโยงพนักงานในบริษัท รวมทั้งตัวแทนจากบริษัทผู้จัดหาสินค้าหรือลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใดก็ตาม
การควบคุมการดำเนินงาน (Process Control)
การควบคุมการดำเนินงานเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานที่เห็นได้ทางกายภาพกระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพในการกลั่นน้ำมัน การผลิตซีเมนต์ การถลุงเหล็กกล้า การผลิตสารเคมี การผลิตอาหารจากโรงงาน การผลิตกระดาษ การผลิตกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ โดยใช้อุปกรณ์ในการตรวจจับ (Sensing) เพื่อวัดคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวัดทางกายภาพนี้จะถูกแปลงไปเป็นรูปแบบดิจิตอล ด้วยเครื่องแปลงสัญญาณอนาลอก- ดิจิตอล และถ่ายทอดสัญญาณนี้ไปสู่คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล
ซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการดำเนินงานใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่และเปรียบเทียบกับมาตรฐาน หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ต้องการ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะสั่งการควบคุมกระบวนการโดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม เช่น เทอร์โมสเตต (Thermostats) วาล์ว (Valves) สวิตช์ Switches) หรืออื่นๆ ระบบควบคุมการดำเนินงานนี้สามารถส่งข้อความหรือแสดงหน้าจอในการทำงาน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมสามารถใช้มาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการทำงาน และยังสามารถจัดทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในการบวนการผลิตตามที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ
การควบคุมเครื่องจักรกล (Machine Control)
การควบคุมเครื่องจักรกลเป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล ที่รู้จักกันดีในนาม Numerical Control โดยแปลงข้อมูลทางเรขาคณิตจากการวาดภาพทางวิศวกรรมและขั้นตอนการทำงานจากการวางแผนการดำเนินงานไปสู่รหัสตัวเลขของชุดคำสั่งซึ่งควบคุมการทำงานของเครื่องจักร การควบคุมเครื่องจักรกลนี้ อาจรวมไปถึงการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงที่เรียกว่า การควบคุมตรรกะคำสั่งในการทำงาน (Programmable Logic Controllers : PLCs) ช่วยวิศวกรปรับระดับการทำงานอย่างละเอียดของเครื่องมือเครื่องจักรกล
หุ่นยนต์ (Robotics)
การพัฒนาที่สำคัญในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในอุตสาหกรรม คือ การสร้างสรรค์เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงและหุ่นยนต์ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของสิ่งเหล่านี้ คือไมโครคอมพิวเตอร์ การศึกษาและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์นี้เป็นเทคโนโลยีของการสร้างและการใช้เครื่องจักร บวกกับ ความฉลาดของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมให้มีความสามารถทางกายภาพเหมือนมนุษย์ทั่วไป ( สมรรถภาพของการใช้มือ การเคลื่อนไหว การมองเห็น) ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักในการวิจัยและพัฒนาในสาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI)
หุ่นยนต์ถูกใช้ในฐานะ " คนงานปกเสื้อเหล็ก” (Steel-collar Workers) ได้เพิ่มการผลิตและลดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก เช่น หุ่นยนต์อาจคุมวาล์วความดันที่อัตรา 320 หน่วยต่อชั่วโมง ซึ่งเป็น 10 เท่าของแรงงานคน หุ่นยนต์ยังเป็นประโยชน์มากในด้านสิ่งที่เป็นพิษหรือของเสีย หุ่นยนต์ทำตามโปรแกรมที่กำหนดโดยแม่ข่ายและโหลดข้อมูลนั้นสู่ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ การนำข้อมูลเข้านั้นได้จากการมองและหรือการสัมผัสตัวจับสัญญาณ (Sensor) เพื่อประมวลผลโดยไมโครคอมพิวเตอร์และแปลงเป็นการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยทั่วไปมักจะเป็นการเคลื่อนไหวแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อจับขึ้น หรือยกของ หรือทำหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับคำสั่ง เช่น การวาดรูป การขุดเจาะ และการเชื่อมโลหะ จากการพัฒนาด้านการศึกษาและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ได้รับการคาดการณ์ไว้ว่าจะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มี ความฉลาด ยืดหยุ่น และเคลื่อนไหวได้มากขึ้น โดยการปรับปรุงความสามารถในการคำนวณ การมองเห็น การสัมผัส และการกำหนดทิศทาง


รูปที่ 10. 16 การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการประกอบแผงวงจร (Circuit Board) ที่ Bell Laboratories


คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering - CAE)
วิศวกรด้านการผลิตใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานด้านวิศวกรรม CAE สร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบ การวิเคราะห์ และการประเมินต้นแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพวกเขาได้พัฒนาขึ้น โดยการใช้วิธีการด้านคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design - CAD) ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิตในโรงงาน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น CAD Package ช่วยในงานวาดภาพของวิศวกรและช่วยให้เกิดภาพกราฟิก 3 มิติซึ่งสามารถทำให้หมุนไปรอบๆ เพื่อที่จะมองวัตถุได้ทั้ง 3 ด้าน สามารถมองในระยะใกล้ เพื่อมองส่วนประกอบเฉพาะส่วนและสามารถแสดงการเคลื่อนไหวเหมือนกับการทำงานกับของจริง การออกแบบนี้สามารถแปลงไปสู่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผลงานที่ได้ทำสำเร็จแล้ว
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Information Systems: HRIS)
การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) เกี่ยวข้องกับการจัดหา การทดสอบ การประเมินผล การจ่ายเงินค่าตอบแทน และการพัฒนาลูกจ้างขององค์กร เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการใช้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่สุด ดังนั้นระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุน 1) การวางแผนความต้องการด้านบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของบริษัท 2) พัฒนาพนักงานเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด 3) ควบคุมนโยบายและโปรแกรมด้านบุคคล


รูปที่ 10. 18 ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ได้สนับสนุนการใช้กลยุทธ์ เทคนิค และการดำเนินการด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท

ในยุคเริ่มต้นองค์กรธุรกิจใช้ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการ 1) ผลิตรายงานการจ่ายเงินค่าจ้างด้วยเช็คและการจ่ายเงินเดือน 2) ดูแลระเบียนของพนักงานแต่ละคน และ 3) วิเคราะห์การใช้บุคลากรในการดำเนินงานด้านธุรกิจ
หลายหน่วยงานได้ก้าวไปไกลกว่าการใช้งานการบริหารงานบุคคลในแบบเดิมนี้ และได้พัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนในด้าน 1) การจัดหา การคัดเลือกและการจ้างบุคลากร 2) การมอบหมายงาน 3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ของลูกจ้าง 5) การฝึกอบรมและการพัฒนา และ 6) สุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง ดูรูปที่ 10.18
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ อินเทอร์เน็ต (HRM and Internet)
อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนผลักดันที่สำคัญของความเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศ ( รับสมัครงาน) ผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ต (Newsgroup) และสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินทราเน็ต (HRM and Intranet)
เทคโนโลยีอินทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถทำระบบงานพื้นฐานเกือบทั้งหมดของงานด้าน HRM ได้บนอินทราเน็ตขององค์กร เพื่อการเสนอบริการไปสู่พนักงาน ซึ่งสามารถแพร่กระจายสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ได้รวดเร็วกว่าช่องทาง ( การสื่อสาร) อื่นๆของบริษัทในอดีตและสามารถรวบรวมสารสนเทศออนไลน์จากพนักงานเพื่อนำเข้าสู่แฟ้มข้อมูลของ HRM
ตัวอย่างเช่น ระบบงานบนอินทราเน็ตในเรื่องการให้บริการตัวเองของลูกจ้าง (Employee Self-service - ESS) จะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน พนักงานสามารถใช้เว็บบราวเซอร์ เพื่อค้นหาสารสนเทศออนไลน์ในเรื่องค่าตอบแทนส่วนบุคคล และผลประโยชน์ด้านสุขภาพ ฯลฯ
ประโยชน์อีกประการหนึ่งของอินทราเน็ต คือ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมที่เก่งกว่า พนักงานสามารถรับทราบขั้นตอนในการทำงานและกระบวนการเพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่ต้องการได้ง่าย
จำนวนบุคลากรขององค์กร (Staffing the Organization)
การทำงานของบุคลากรต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งจะบันทึกและติดตามทรัพยากรบุคคลในบริษัทเพื่อทำให้เกิดการใช้งานสูงสุด เช่น ระบบการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลจากการติดตามเพิ่มเติม ลบทิ้ง และเปลี่ยนแปลงระเบียนของพนักงานในฐานข้อมูลบุคลากร ความเปลี่ยนแปลงจากการมอบหมายงานและค่าตอบแทน หรือการจ้างและการเลิกจ้าง ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของสารสนเทศที่จะถูกใช้เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็นปัจจุบัน อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ระบบการตรวจสอบทักษะของพนักงานซึ่งใช้ข้อมูลด้านทักษะของพนักงานจากฐานข้อมูลบุคลากรเพื่อวางตำแหน่งพนักงานภายในบริษัท ซึ่งมีทักษะที่ต้องการสำหรับงานและโครงการเฉพาะทาง
ตัวอย่างสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ด้านความต้องการบุคลากร ซึ่งบริษัทต้องได้รับการตอบสนองอย่างสมดุลในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง ระบบงานนี้ช่วยให้การคาดการณ์ด้านความต้องการบุคลากรในแต่ละประเภทของงาน สำหรับแผนกของบริษัทที่มีหลากหลายหรือโครงการใหม่ๆ หรือ ความเสี่ยงอื่นๆ การวางแผนระยะยาวเช่นนี้ใช้รูปแบบจำลองของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินแผนการอื่นๆ สำหรับแผนการในการจัดหา การมอบหมายงานใหม่และการฝึกอบรมใหม่
การพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development)
ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์วางแผนและดูแลการจัดหา การฝึกอบรม และโครงการพัฒนาพนักงานโดยการวิเคราะห์ความสำเร็จ จากการวางแผนในอดีตของโครงการในปัจจุบัน พวกเขายังวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาด้านอาชีพจากพนักงานเพื่อหาข้อสรุปว่าวิธีการพัฒนาเช่นโปรแกรมการฝึกอบรมและการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นอย่างไร โปรแกรมการฝึกอบรมด้วยการใช้มัลติมีเดียบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ และการประเมินผลการทำงานของลูกจ้างสามารถช่วยในเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้
การวิเคราะห์ค่าตอบแทน (Compensation Analysis)
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ขอบเขตและการกระจายของค่าตอบแทนของพนักงาน ค่าแรง เงินเดือน รายจ่ายพิเศษ และค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน ภายในองค์กร เปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่จ่ายในองค์กรที่ทำงานคล้ายๆกัน หรือปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์กับการวางแผนเปลี่ยนแปลงในเรื่องค่าตอบแทน การต่อรองกับสหภาพแรงงาน ค่าใช้จ่ายของบริษัทคู่แข่ง และความสมเหตุสมผลของค่าตอบแทน
การรายงานต่อรัฐบาล (Governmental Reporting)
ในทุกวันนี้ ต้องมีการรายงานไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบหลักในเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น องค์กรเหล่านี้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเก็บการติดตามด้านสถิติและการจัดทำรายงาน


รูปที่ 10. 23 ระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่สำคัญสำหรับรายการเปลี่ยนแปลงด้านการประมวลผลและการรายงานด้านการเงิน โดยระบบเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันในเรื่องการไหลเวียนของข้อมูลรับเข้าและผลลัพธ์

อ้างอิง ::http://www.no-poor.com/misandflash/mis_ch10.htm
นางสาวอนุสรา สีกา
49043494345
sec.01
วิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น